วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยว

ภูกระดึง จังหวัดเลย

ผาหล่มสัก




น้ำตกเพ็ญพบใหม่  


น้ำตกโผนพบ  


น้ำตกถ้ำสอเหนือ


มีเนื้อที่ประมาณ 348 ตารางกิโลเมตร (217,581 ไร่) ครอบคลุมท้องที่อำเภอภูกระดึงจังหวัดเลย ห่างจากที่ว่าการอำเภอภูกระดึง 5 กิโลเมตร และจากจังหวัดเลย 74 กิโลเมตรสูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,200 เมตร
สภาพอากาศบนภูกระดึงนั้นเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 15 องศาเซลเซียส สูงสุด 26 องศาเซลเซียส และเฉลี่ยต่ำสุด 5 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นมากจนบางครั้งอุณหภูมิต่ำลงถึงที่ 0 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูฝนอากาศแปรปรวนบ่อยครั้งมีหมอก และเมฆฝนลอยต่ำ ฝนตกชุก
ความเป็นมา
ตามตำนานกล่าวว่า มีพรานผู้หนึ่งตามล่ากระทิงขึ้นไปบนยอดเขาลูกหนึ่งในเขตตำบลศรีฐาน และได้พบสิ่งมหัศจรรย์ คือ บนยอดเขาราบเรียบกว้างใหญ่มีทุ่งหญ้าป่าสน และเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิดเช่น ช้าง ฝูงกระทิง เก้งกวาง หมูป่า หากินเป็นฝูงๆ โดยไม่กลัวคนเพราะไม่เคยเห็นคนมาก่อนภูกระดึงซึ่งถูกปิดบังซ่อนเร้น ก็ถูกเปิดเผยแต่นั้นมา
ชื่อ "ภูกระดึง" นั้นมีเรื่องเล่าว่า ในวันโกนวันพระจะได้ยินเสียงระฆังหรือกระดิ่ง จากเขาลูกนี้เสมอ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นระฆังของพระอินทร์ จึงได้รับขนานนามว่า "ภูกระดึง" เพระคำว่า "ภู" หมายถึง ภูเขา และ "กระดึง"มาจากคำว่า "กระดิ่ง" ภาษาพื้นเมืองจังหวัดเลยแปลว่า "ระฆังใหญ่"นอกจากนี้ เมื่อขึ้นไปยอดเขาบางส่วนถ้าเดินหนักๆ หรือใช้ไม้กระทุ้งพื้นดินจะเกิดเสียงก้องคล้ายเสียงระฆัง ซึ่งเกิดจากโพรงข้างใต้จึงได้รับขนานนามว่า "ภูกระดึง"
ภูกระดึง เป็นที่รู้จักกันมานานตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 สมุหเทศาภิบาล (พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ลิปปาคม) ได้ทำรายงานสภาพภูมิศาสตร์เสนอต่อกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2486 ทางราชการได้ออกราชกฤษฎีกากำหนดป่าภูกระดึงให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ และกรมป่าไม้ได้เริ่มดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลยเป็นแห่งแรกแต่เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณเจ้าหน้าที่จึงได้ดำเนินการไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
จากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าภูกระดึงจังหวัดเลย และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่าเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้เป็นการถาวรเพื่อประโยชน์ส่วนรวมกรมป่าไม้ได้เสนอจัดตั้งป่าภูกระดึงให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2404โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าภูกระดึง ในท้องที่ตำบลกิ่งอำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลยเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 79 ตอนที่ 104 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2505 เนื้อที่ 2,175,881 ไร่นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 2 ของประเทศ
ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2520 อนุมัติหลักการให้ดำเนินการเพิกถอนเขตอุทยานแห่งชาติในส่วนที่กองทัพอากาศขอใช้ประโยชน์ตั้งเป็นสถานีถ่ายทอดโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ในทางราชการเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการขอเพิกถอนพื้นที่ดังกล่าวโดยได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบางส่วนในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย พ.ศ. 2521 ซึ่งประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 95 ตอนที่ 118 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2521
สภาพภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายที่มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่สลับกับเนินเตี้ย ๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าวสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร เป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำพองซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น ยอดภูกระดึงประกอบไปด้วยป่าสนสลับป่าก่อและทุ่งหญ้า มีพันธุ์ไม้ดอก ไม้ใบ ขึ้นอยู่ทั่วไปตามบริเวณน้ำตกลำธาร และลานหิน ซึ่งธรรมชาติได้สร้างสรรค์ไว้อย่างสวยงามยิ่ง
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีหลายชนิด เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบเขา และป่าสนเขา มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ได้แก่ เต็ง รัง พลวงแดง มะค่า ยมหอม มะเกลือ ตะแบก สมอ รกฟ้า พญาไม้ สนสามพันปี จำปีป่า ทะโล้ เมเปิ้ล สนสองใบ และสนสามใบ ก่อชนิดต่างๆ
ในทุ่งหญ้ามีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงามออกดอกบานสะพรั่งสลับกันไปในแต่ละฤดูกาล เช่น กุหลาบป่า เทียนน้ำ มณเฑียนทอง แววมยุรา ก ระดุมเงิน เทียมภู ส้มแปะ เง่าน้ำทิพย์ ดาวเรืองภู ห นาดน้ำค้าง และกล้วยไม้ซึ่งบางชนิดชอบขึ้นตามลานหิน ได้แก่ ม้าวิ่ง เอื้องคำหิน ส่วนไม้พื้นล่างมีเฟิร์น มอส โดยเฉพาะข้าวตอกฤาษีซึ่งเป็นมอสขนาดใหญ่และสวยงามที่สุดมีอยู่เป็นจำนวนมาก
ภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุมเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิด เช่น ช้าง เสือโคร่ง หมีควาย เลียงผา เก้ง กวาง หมูป่า ชะนี บ่าง พญากระรอก หมาไนส่วนนกชนิดต่าง ๆ ที่พบเห็นได้แก่ นกกางเขนดง นกจาบกินอกลายนกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกขมิ้นดง และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูรู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาวอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว


http://th.upload.sanook.com/A0/9206b982ec003b7c276aa36867f24c18



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น